ผู้หญิง กับการดูแลสุขภาพหลังคลอด

เกร็ดความรู้ต้องอ่านก่อนการเสริมหน้าอก

การแพทย์แผนไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้คุณแม่มีการดูแลสุขภาพของตัวเองหลังการคลอดบุตร เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีรูปร่างที่งดงาม

ถึงแม้ว่าการคลอดบุตรเป็นเรื่องของธรรมชาติ มิใช่เรื่องของการเจ็บป่วย แต่เนื่องจากสตรีที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทั้งภายในและภายนอก ตั้งแน่เริ่มตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอดบุตร จะมีการขยายตัวของอวัยวะต่าง ๆ แม้กระทั่งผิวหนังก็ยังมีการเปลี่ยนแปลง บางแห่งจะมีสีที่คล้ำกว่าปกติ หรือเกิดฝ้าที่ใบหน้าและหลังจากการคลอดบุตรเป็นช่วงที่ร่างกายมีความอ่อนแอ ขาดภูมิคุ้มกัน จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

หลังจากการคลอดบุตรแล้ว สตรีทุกคนย่อมต้องการสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อจะได้ดูแลบุตรอันเป็นที่รัก นอกจากนี้ย่อมปรารถนาที่จะมีเรือนร่างที่งดงามสมส่วน วิธีการดูแลสตรีหลังการคลอดบุตร ที่มีมาแต่สมัยโบราณก็คือ การอยู่ไฟ การนั่งถ่าน การประคบสมุนไพร การนาบหม้อเกลือ การเข้ากระโจม การรมตาด้วยควันจากสมุนไพร การนวด และการอาบน้ำ แต่ละท้องถิ่นก็อาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แม้กระทั่งการใช้สมุนไพรก็ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นนั้น ๆ

การอยู่ไฟของสตรีหลังคลอดบุตร

หากคลอดบุตรตามธรรมชาติสามารถอยู่ไฟได้หลังคลอด 7 วัน ส่วนสตรีที่คลอดบุตรโดยวิธีการผ่าตัดออกทางหน้าท้อง จะสามารถอยู่ไฟได้หลังคลอดไม่น้อยกว่า 30 วัน การอยู่ไฟควรทำติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน

ประโยชน์ของการอยู่ไฟนั้น มีมากมายหลายหลากเป็นต้นว่า

  • ช่วยขับน้ำคาวปลาให้ไหลดี ช่วยขับของเสียหรือสารมีพิษออกจากร่างกาย
  • ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว มดลูกหดรัดตัวเร็วขึ้น ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้ง่าย
  • ช่วยล้างคราบเหงื่อไคล คราบสกปรกได้ดี
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณผุดผ่องสดใส ลดจุดด่างดำตามซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ
  • ช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
  • ช่วยเรื่องอาการหนาวสะท้าน
  • ช่วยทำให้คุณแม่มีน้ำนมไหลออกมาดี ลดการคัดตึงของเต้านม
  • ช่วยรมตาทำให้ ดวงตาสว่างสดใส ไม่พร่ามัว เป็นการยืดอายุของสายตาให้มีประสิทธิภาพ
  • บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย
  • ขจัดของเสียและลดไขมันส่วนเกิน
  • ปรับสภาวะร่างกายให้สมดุล เป็นการป้องกันกลุ่มอาการแทรกซ้อนเมื่อเข้า สู่วัยทอง

การดูแล รักษากระบังลม หลังคลอดบุตร

กะบังลมมดลูก ของสตรีที่ผ่าตัดคลอดบุตร

คุณแม่หลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องที่คุณหมอมักเตือนว่าหลังจากที่ผ่าตัดคลอดแล้ว ไม่ควรขึ้นบันไดบ่อย เพราะจะทำให้กะบังลมมดลูกหย่อน กะบังลม นั้นเป็นกล้ามเนื้อชุดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเปลญวนคอยพยุงอวัยวะต่างๆ เอาไว้ เราเรียกกล้ามเนื้อนี้ว่า “กล้ามเนื้อกะบังลม” ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อต่างๆ หลายสิบมัดยึดติดประสานกัน ทำหน้าที่เหมือนพื้นรองของไม่ให้หล่นลงมา

โดยปกติกล้ามเนื้อกะบังลมจะมีความแข็งแกร่งทนทานค่อนข้างมาก แต่ถ้าสตรีใดผ่านการคลอดบุตร โดยเฉพาะคลอดทางช่องคลอดบ่อยๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อชุดนี้ถูกยืดขยายและหย่อนยานได้ ยิ่งคลอดมาก กล้ามเนื้อก็จะยิ่งหย่อนมาก อย่างไรก็ตาม ในสตรีที่อายุยังไม่มาก แม้จะผ่านการคลอดมาหลายครั้ง กล้ามเนื้อกล้ามเนื้อก็มักจะยังไม่ยืดหย่อนมาก เพราะยังมีฮอร์โมนจากรังไข่มาช่วยให้กล้ามเนื้อคงความแข็งแรงได้ระดับหนึ่ง

ในทางการแพทย์พบว่าการคลอดลูกมากเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะกะบังลมหย่อน แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดได้เช่น การไอเรื้อรังจากโรคปอดหรือหลอดลมต่างๆ หรือรายที่ท้องผูกและต้องเบ่งถ่ายอยู่เป็นประจำ

การรักษากะบังลมหย่อน

  • ออกกำลังกาย ในรายที่เป็นไม่รุนแรง อาจใช้แค่การบริหารกล้ามเนื้อกะบังลมด้วยวิธีง่ายๆ โดยการขมิบก้นจะทำให้กล้ามเนื้อกะบังลมต้องมีการหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวมีการหนาตัว ตึงตัว และแข็งแรงขึ้นเหมือนกล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่และแข็งแรงขึ้นจากการตีแบดมินตัน หรือเล่นเทนนิส
  • การผ่าตัดรักษา จะทำในรายที่เป็นรุนแรง มีการหย่อนของผนังช่องคลอดหรือมดลูกค่อนข้างมาก การผ่าตัดอาจทำเพียงแค่ตัดผนังช่องคลอดส่วนที่หย่อนยานทิ้งแล้วเย็บซ่อมให้แข็งแรง หรืออาจต้องตัดมดลูกทิ้งร่วมไปด้วยในกรณีที่มดลูกหย่อนและยื่นลงมาค่อนข้างมาก

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

แนะนำวิธีสำหรับคุณแม่ ที่เพิ่งผ่านประสบการณ์ แห่งชีวิตมา จะต้องพบอะไรต่อไป และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง หลังคลอดใหม่ ๆ คุณแม่มักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายไปหมด และอาจเจ็บระบบในช่วงวันแรก ๆ หลังการคลอด นอกจากนี้ยังอาจตกใจ กับรูปร่างตนเองหลังคลอด ที่จากท้องเต่งตึงกลายเป็นหน้าท้องหย่อน ๆ เต้านมจะใหญ่ ต้นขาจะอวบหนา ซึ่งการบริหารหลังการคลอดสม่ำเสมอ จะช่วยให้รูปร่างกระชับ และคุณแม่จะรู้สึกดีขึ้น โดยสิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญเป็นต้นว่า

อาการปวดท้องน้อยหลังคลอด อาจรู้สึกปวดเกร็งในช่องท้อง เนื่องจากมดลูกมีการหดรัดตัว ในช่วงหลังคลอดและมักจะเป็นในขณะที่ลูกดูดนมแม่ เพราะมีฮอร์โมนออกซีโตซินหลั่งออกมาซึ่งช่วยกระตุ้น ให้น้ำนมไหลดีและยังบีบรัดให้มดลูกให้หดตัวเพื่อลดขนาดลง ( มดลูกเข้าอู่ ) ยิ่งมดลูกหดรัดตัวเร็วและแรงเพียงใด ยิ่งลดโอกาสการเกิดอาการตกเลือดหลังคลอดมากเท่านั้น

ระบบขับถ่าย ในวันแรกหลังคลอดอาจยังไม่รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ แต่ควรลุกขึ้นและเดินไปมาเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้เริ่มทำงาน คุณแม่หลังคลอดควรรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกาก และดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อช่วยให้ท้องไม่ผูก ถ่ายลำบาก ถ้ารู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ควรลองถ่ายทันที แต่อย่าเบ่งแรงมาก

กระเพาะปัสสาวะ ในวันแรกๆ หลังคลอด อาจปัสสาวะบ่อย มี เนื่องจาก ร่างกายต้องการขับน้ำที่สะสมไว้เกินในขณะตั้งครรภ์ แต่อาจประสบปัญหาปัสสาวะลำบาก เพราะบริเวณอุ้ง เชิงกรานซึ่งเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ยังมีอาการบวม

ปากมดลูกและช่องคลอด บริเวณปากมดลูกและช่องคลอดจะขยายออกอย่างมากหลังจากการคลอด โดยช่องคลอดคุณแม่ควรใช้วิธีฝึกขมิบบ่อยๆ เพื่อช่วยให้กระชับเร็วขึ้น สามารถเริ่มทำได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากคลอด ส่วนปากมดลูกจะ ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะกลับคืนสู่สภาพเดิม

น้ำคาวปลา น้ำคาวปลาจะมีออกมาทางช่องคลอดหลังจากคลอดแล้วอีก ประมาณ 2-6 สัปดาห์ ถ้าคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้ำคาว ปลาจะหยุดเร็วขึ้น ในช่วงแรกจะเป็นสีแดงสดและออกมาก แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันจะลดน้อยลงและค่อยๆ จางลง คุณแม่ควรใส่ผ้าอนามัย แต่ไม่ควรใช้ชนิดสอดเพราะ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย หลังจากน้ำคาวปลาหยุดไหลแล้ว คุณแม่อาจเริ่มบริหารหน้าท้องให้กระชับได้

การดูแลสุขภาพหลังคลอด นั้นข้อมูลข้างต้นเป็นการแนะนำวิธีสำหรับคุณแม่ ที่เพิ่งผ่านประสบการณ์แห่งชีวิตมา จะต้องพบอะไรต่อไป และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างหลังคลอด คุณแม่มักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายไปหมด และอาจเจ็บระบบในช่วงวันแรกหลังการคลอด นอกจากนี้ยังอาจตกใจ กับรูปร่างตนเองหลังคลอด ที่จากท้องเต่งตึงกลายเป็นหน้าท้องหย่อนๆ เต้านมจะใหญ่ ต้นขาจะอวบหนา ซึ่งการบริหารหลังการคลอดสม่ำเสมอ จะช่วยให้รูปร่างกระชับ และแข็งแรงขึ้นด้วยการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

share on: