การใช้ยาในแม่ที่ให้นมบุตร

การใช้ยาในแม่ที่ให้นมบุตร

มีหลายคำถามเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ว่าหากมีอาการป่วยและจำเป็นต้องใช้ยาระหว่างการให้นมบุตร หรือระหว่างการตั้งครรภ์นั้น จะมีผลอะไรต่อเด็กหรือไม่ ลักษณะนี้คือ Medications in the Breast-feeding mother หรือ การใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร ซึ่งจะมีหลักการทั่วไป สำหรับการใช้ยาของมารดาที่ให้นมบุตรนั้นคือ

อย่างแรกต้องพิจารณาก่อนว่า อาการป่วยนั้นมีการทุเลาลงหรือไม่ หรือจำเป็นจริงแค่ไหนที่จะต้องใช้ยา เพราะโดยทั่วไป เด็กที่รับประทานนมแม่นั้น หากมารดาได้รับยา ฤทธิ์ยาก็จะตกถึงลูกด้วยเช่นกัน ดังนั้นแม่สามารถอดทนต่ออาการป่วยไข้นั้นได้ไหม และสามารถเลื่อนการใช้ยาออกไปได้หรือไม่ อีกทั้งเมื่อตัดสินใจว่าต้องการจะใช้ยา ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของยาด้วยว่าต้องไม่กระทบต่อทารก ซึ่งยาบางชนิดจะมีการรับรองจากผู้ผลิต และมีรายละเอียดอื่นอีกมากมาย โดยรายละเอียดในการใช้ยา ควรพิจารณาดังนี้

การใช้ยาในแม่ที่ให้นมบุตร

  1. พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ และสามารถเลื่อนการใช้ยาออกไปได้หลังหย่านมหรือไม่
  2. เลือกใช้ยาที่ยอมรับกันว่ามีความปลอดภัยในทารก หรือมีการรับรองจากบริษัทผู้ผลิต
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทราบว่ามี toxicity ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาใหม่ๆที่มีข้อมูลน้อย ให้ใช้ยาที่ออกมานานและมีผลการใช้ยาในมารดาที่ให้นมลูกว่าไม่มีอันตราย
  5. เลือกใช้ยาที่ผ่านไปน้ำนมได้ยาก ,มี half-life สั้น, มีความสามารถจับกับโปรตีนได้ดี,ละลายในไขมันได้ไม่ดี และมีการดูดซึมที่ทางเดินอาหารได้ไม่ดี
  6. เลือกการให้ยาแบบวันละครั้งเดียว ดีกว่าแบบวันละหลายๆ ครั้ง ถ้าให้ยาแบบวันละครั้ง ควรให้แม่กินยาหลังที่ลูกกินนมแม่และมีการหลับเป็นระยะเวลานาน ถ้าให้แบบหลายครั้งให้ลูกกินนมก่อนแม่กินยาทันที
  7. เลือกวิธีการให้ยาที่ทำให้ระดับยาในเลือดแม่ไม่สูง เช่นใช้แบบ ทา ดีกว่าฉีดหรือกิน
  8. ไม่ว่าใช้ยาอะไร ควรเลือกใช้ในขนาดต่ำ และใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด

เมื่อการใช้ยาของมารดาที่ให้นมบุตรจำเป็นมากขึ้น มารดาควรให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของทารกด้วย ซึ่งปัจจัยทางคุณสมบัติของยา (Drugs factors) ปัจจัยทางทารก (Infant factors) และ ปัจจัยทางมารดา (Maternal factors) ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนตามหัวข้อ ดังนี้

การใช้ยาในแม่ที่ให้นมบุตร

ปัจจัยทางคุณสมบัติของยา (Drugs factors)

  1. Diffusion or active transport. ยา ส่วนใหญ่ผ่านไปน้ำนมโดยวิธี Diffusion นั่นคือถ้าระดับยาในplasmaแม่สูง ระดับยาน้ำนมก็สูงขึ้นด้วย แต่ยาบางตัวใช้วิธี active transport ทำให้ความเข้มข้นของยาในน้ำนมสูงกว่าในplasma ของแม่
  2. Protein binding ยาที่จับกับโปรตีนได้ดี เช่น warfarin จะมีระดับยาต่ำในน้ำนม
  3. Lipid-solubility ยาที่ละลายได้ดีในไขมัน จะผ่านไปน้ำนมได้มากขึ้น
  4. Degree of ionization ยาที่ไม่มีการแตกตัว(unionized)ใน plasma จะผ่านไปน้ำนมได้มากกว่ายาที่มีการแตกตัวดีกว่า
  5. Molecular weight ยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำเช่น Lithium จะผ่านไปน้ำนมได้เร็วหลังจากแม่กินยา ส่วนยาที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงช่น Heparinจะไม่ผ่านไปน้ำนมแม่
  6. Oral bioavailability ยาบางตัวถูกทำลายที่ทางเดินอาหารของทารกได้ ไม่ผ่านไปยังระบบไหลเวียนของทารกจึงไม่มีความเสี่ยง หรือยาบางตัวดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดี เช่น aminoglycosides จึงมีผลน้อยต่อทารก
  7. Half-life ถ้าแม่ได้ยาที่มี half-life ยาว หรือมี active metabolite ที่อยู่นาน ความเสี่ยงต่อทารกก็มากขึ้น โดยทั่วไปจึงควรหลีกเลี่ยงยาพวกนี้ โดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
  8. Non-doserelated toxicity มียาจำนวนน้อยที่อาจทำให้เกิดการแพ้ยา ซึ่งไม่เกี่ยวกับปริมาณยาที่ได้รับ

ปัจจัยทางทารก (Infant factors) เกี่ยวกับการใช้ยาของมารดาที่ให้นมบุตร

  1. Age ทารกแรกคลอดโดยเฉพาะ ทารกคลอดก่อนกำหนด มีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากความสามารถในการกำจัดยาออกจากร่างกายไม่ดี มีการสะสมของยามากกว่า
  2. Health status ทารกน้ำหนักน้อย หรือป่วย มีความเสี่ยงมากขึ้น ภาวะอื่นเช่น Renal ,liver impairment, G6PD deficiency หรือ dehydration

ปัจจัยทางมารดา (Maternal factors)

  1. Dose โดยทั่วไป ระดับยาในน้ำนมมีความสัมพันธ์กับขนาดยาที่มารดาได้รับ
  2. Route of administration การให้ยาทาง parenteral ระดับยาผ่านไปน้ำนมจะสูงกว่าการกิน ส่วนยาทาหรือยาพ่นจะผ่านไปน้อยมาก
  3. Health status มารดาที่มี renal หรือ hepatic impairment จะมีการสะสมยามากกว่า จะเพิ่มความเสี่ยงต่อทารก

การใช้ยาในแม่ที่ให้นมบุตร

ก่อนการใช้ยาของแม่ให้นม ควรพิจารณาให้ความสำคัญแก่ทารกเป็นอันดับแรก ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือใช้ปริมาณยา เท่าที่จำเป็นตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ยาบางประเภทสามารถทดแทนได้ด้วยการปฎิบัติตัวและสมุนไพรที่มีประโยชน์ ดังนั้นไม่ควรพึ่งพายาเกินไปนัก

ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.beautyfullallday.com/healthy/

share on: