ร่างกายเราจำเป็นต้องได้รับ Growth Hormone หรือไม่

ร่างกายเราจำเป็นต้องได้รับ Growht Hormone หรือไม่

หน้าที่หลักของ Growth Hormone นั้นจำเป็นต่อร่างกายเราอย่างไร ซึ่งหน้าที่โดยตรงของเจ้าฮอร์โมนตัวนี้คือ จะจับกับเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณ (receptor) ของโกรทฮอร์โมนอยู่โดยตรงแล้วทำให้มีการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์นั้นได้แก่ตับ เนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง แมคโคเฟจ และเซลล์ไขมัน (adipocyte) จะทำให้มีการสลายไทรกลีเซอไรด์ และลดการขนถ่ายกรดไขมันเข้าเซลล์

ส่วนหน้าที่ทางอ้อมที่มีประโยชน์กับร่างกายเราก็คือ จะออกฤทธิ์ผ่านโซมาโทมีดิน (somatomedin) โดยเฉพาะโซมาโทมีดิน ซี หรือที่เรียกว่าตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน (insulin-like growth factor-I : IGF-I) โดยโกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้มีการสร้าง IGF-I ซึ่งส่วนใหญ่เกิดที่ตับ จากนั้น IGF-I จะไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายอีกทีหนึ่ง

เมื่อร่างกายเรามีการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นขบวนการที่ซับซ้อน โดยอาศัยการทำงานของหลายๆ ฮอร์โมน หนึ่งในนั้นคือ Growth Hormone เนื่องจากมีการกระตุ้นให้ตับและเนื้อเยื่อหลั่ง IGF- I, ซึ่ง IGF-I นี้เองจะกระตุ้นเซลล์ของกระดูกอ่อน (cartilage cell or chondrocyte) ทำให้มีการแบ่งตัวของเซลล์กระดูกอ่อน นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อก่อนถึงปลายกระดูกที่ปลายกระดูกอ่อน (epiphyseal plate)โดยกระตุ้นการขนถ่ายกรดอะมิโนในการสร้างโปรตีนที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ (hyperplasia) และขยายขนาด (hypertrophy) เพิ่มขึ้น

บทบาทสำคัญของ Growth Hormone เมื่อเราเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ร่างกายยังต้องการใช้กรดอะมิโน ในการสร้างโปรตีนอยู่ เพื่อควบคุมเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต ดังนั้น Growth Hormone จึงมีความจำเป็นต่อร่ายกายเราในทุกๆ วัย

ร่างกายเราจำเป็นต้องได้รับ Growth Hormone หรือไม่

ร่างกายสร้าง Growth Hormone ได้อย่างไร

เจ้าฮอร์โมนตัวนี้ ที่เรียกว่าเปปไทด์ฮอร์โมน โครงสร้างประกอบด้วยกรดอะมิโน 190 ตัว เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และมีผลต่อการเจริญเติบโต รวมทั้งเมตะบอลิสซึมของร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า somatotropin ยีนที่ควบคุมการสร้างโกรทฮอร์โมน อยู่บน q22-24 region ของโครโมโซมคู่ที่ 17 และมีลักษณะใกล้เคียงกับยีนที่ควบคุมการสร้าง human chorionic somatomammotropin (hCS) หรือที่เรียกว่า placental lactogen ฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิด คือ GH, human chorionic somatomammotropin (hCS), และ prolactin (PRL) จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการสร้างน้ำนม

เจ้าฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างและหลั่งออกมาจากเซลล์ที่มีชื่อเรียกว่า โซมาโตรโทรฟ (somatotrophs) ซึ่งอยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหน้า การสร้างโกรทฮอร์โมนถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ ภาวะความเครียด การออกกำลังกาย ภาวะโภชนาการ การนอน รวมทั้งตัวโกรทฮอร์โมนเองด้วย

ร่างกายเราจำเป็นต้องได้รับ Growth Hormone หรือไม่

ปัจจัยที่ควบคุมที่สำคัญเป็นฮอร์โมน 3 ชนิด เป็นฮอร์โมนจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส 2 ชนิด และฮอร์โมนจากกระเพาะอาหารอีกหนึ่งชนิด ได้แก่

1. Growth Hormone – releasing hormone (GHRH) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนเช่นเดียวกัน สร้างมาจากสมองส่วนฮัยโปธาลามัส ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน และควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนอีกด้วย
2. somatostatin (SS) เป็นเปปไทด์ฮอร์โมน ที่ผลิตมาจากเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย รวมทั้งสมองส่วนฮัยโปธาลามัส จัดเป็นฮอร์โมนยับยั้ง มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมน ในขณะที่ร่างกายกำลังตอบสนองต่อผลของ GHRH นอกจากนี้ยังพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงจะกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนนี้ด้วย
3. ghrelin เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่หลั่งมาจากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ฮอร์โมนนี้มีความสามารถในการจับกับตัวรับซึ่งอยู่บนเซลล์ชนิด somatotrophs และกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมากพอสมควร

share on: